บจก. เอ็นจิเนียร์ ติวเตอร์
083-812-1905
Line ID: golfae1

ข้อสอบครูผู้ช่วย สพฐ ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ชุดที่ 20

ข้อสอบครูผู้ช่วย สพฐ ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ชุดที่ 20

Results

-

#1. การเลือกใช้สื่อในกระบวนการจัดการเรียนรู้ข้อใดที่ไม่เหมาะสม

เฉลยข้อ 2 ใช้สื่อที่มีราคาแพงที่นำเข้าจากต่างประเทศ
เหตุผล การเลือกใช้สื่อควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการและลีลาการเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน การจัดหาสื่อการเรียนรู้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำและพัฒนาขึ้นเองหรือปรับปรุงเลือกใช้อย่างมีคุณภาพจากสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวเพื่อนำมาใช้ประกอบในการจัดการเรียนรู้ ดังนั้นใช้สื่อที่มีราคา
แพงที่นำเข้าจากต่างประเทศจึงไม่เหมาะสม

ข้อต่อไป

#2. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อตัดสินผลการเรียนรู้จะเป็นการวัดผลในระดับใด

เฉลยข้อ 2 ระดับสถานศึกษา
เหตุผล การประเมินระดับสถานศึกษา เป็นการประเมินที่สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ข้อต่อไป

#3. เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาในการตัดสินผลการเรียนข้อใดไม่ถูกต้อง

เฉลยข้อ 4 ผ่านการประเมินด้านความประพฤติ
เหตุผล เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาในการตัดสินผลการเรียนผ่านการเรียนเป็นรายวิชา ผู้เรียนต้องมีเวลาตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น ๆ ต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชาต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา ดังนั้นเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาในการตัดสินผลการเรียนผ่านด้านการประเมินด้านความประพฤติจึงไม่ถูกต้อง

ข้อต่อไป

#4. การตัดสินผลการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาจะแสดงผลในรูปแบบใด

เฉลยข้อ 2 แสดงเป็นตัวเลข 8 ระดับ
เหตุผล การให้ระดับผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาในการตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายวิชาให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับ

ข้อต่อไป

#5. เกณฑ์การจบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช พ.ศ. 2551 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นตรงตามข้อใด

เฉลยข้อ 1 ได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วย
เหตุผล เกณฑ์การจบการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเกณฑ์กลางสำหรับการจบการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิตโดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 63 หน่วยกิต และ รายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 14 หน่วยกิต

ข้อต่อไป

#6. ตัวแปรใด ไม่จัดเป็น ประเภทของตัวแปรของการวิจัยทางการศึกษา

เฉลยข้อ 4 ตัวแปรที่กำหนดไม่ได้
เหตุผล ประเภทของตัวแปรของการวิจัยทางการศึกษาประกอบด้วยตัวแปรเชิงปริมาณ ตัวแปรเชิงคุณภาพ ตัวแปรค่าต่อเนื่อง ตัวแปรค่าไม่ต่อเนื่อง ตัวแปรที่กำหนดได้และตัวแปรที่จัดกระทำขึ้นไม่ได้ดังนั้นตัวแปรที่กำหนดไม่ได้จึงไม่จัดเป็นประเภทของตัวแปรของการวิจัยทางการศึกษา

ข้อต่อไป

#7. ตัวแปรที่สามารถบอกระดับได้ เรียงลำดับได้ จัดเป็นตัวแปรในระดับใด

เฉลยข้อ 3 มาตราอันตรภาค
เหตุผล ระดับของตัวแปรในการวิจัยมาตราอันตรภาค (Interval Scale) มีลักษณะสำคัญ คือ จัดเป็นกลุ่มได้บอกระดับมากน้อยหรือเรียงลำดับได้มีค่าเป็นตัวเลขที่มีช่วงห่างเท่ากัน เช่น ตัวแปร ระดับอุณหภูมิระดับเสียง

ข้อต่อไป

#8. การวิจัยสามารถแบ่งได้เป็นกี่ประเภท

เฉลยข้อ 1 2 ประเภท
เหตุผล ประเภทของการวิจัยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การวิจัยเชิง ทดลองและการวิจัยกึ่งทดลอง

ข้อต่อไป

#9. สิ่งใดที่ ไม่จัดอยู่ ในขั้นตอนของการดำเนินการวิจัย

เฉลยข้อ 3 สมมติฐาน
เหตุผล ขั้นตอนของการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยขอบเขตของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ขอบเขตพื้นที่ กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้นสมมติฐานจึงไม่จัดอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการวิจัย

ข้อต่อไป

#10. ข้อใด ไม่จัดเป็น การเลือกสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น

เฉลยข้อ 3 การสุ่มแบบแบ่งชั้น
เหตุผล การเลือกสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นประกอบด้วย 5 วิธี คือ การสุ่มแบบบังเอิญการสุ่มแบบโควตา การสุ่มแบบเจาะจง การสุ่มตามความสะดวกและการสุ่มแบบก้อนหิมะ ดังนั้นการสุ่มแบบแบ่งชั้นจึงไม่จัดเป็นการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น

ข้อต่อไป

#11. ข้อใดที่ ไม่จัดเป็น การเลือกสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น

เฉลยข้อ 2 การสุ่มตามความสะดวก
เหตุผล การเลือกสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็นประกอบด้วย 5 วิธี คือ การสุ่มแบบง่ายการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ การสุ่มแบบแบ่งชั้น การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม และการสุ่มแบบหลายขั้นตอนดังนั้นการสุ่มตามความสะดวกจึงไม่จัดเป็นการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น

ข้อต่อไป

#12. สิ่งใดที่ ไม่จัดเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เฉลยข้อ 4 แบบบันทึก
เหตุผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตการจัดอันดับคุณภาพ ดังนั้นแบบบันทึกจึงไม่จัดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ข้อต่อไป

#13. การหาคำของข้อมูลที่ซ้ำกันมากที่สุด เป็นสถิติที่ใช้ในการวิจัยเพื่อหาค่าใด

เฉลยข้อ 2 ค่าฐานนิยม
เหตุผล ค่าฐานนิยม (Mode) คือ ค่าของข้อมูลตัวที่มีค่าซ้ำกันมากที่สุดในชุดข้อมูลนั้น ๆ การหาค่าฐานนิยม สามารถคำนวณหาได้ 2 แบบ ได้แก่ การคำนวณหาค่าฐานนิยมจากข้อมูลดิบที่ไม่อยู่ในรูปของตารางแจกแจงความถี่และการคำนวณหาค่าฐานนิยมจากข้อมูลจัดกลุ่มที่อยู่ในรูปของตารางแจกแจงความถี่

ข้อต่อไป

#14. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตรงภายในของการวิจัยที่สำคัญมีกี่ด้าน

เฉลยข้อ 3 มี 8 ด้าน
เหตุผล ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตรงภายในของการวิจัยประกอบด้วย ประวัติของกลุ่มตัวอย่างทดลองวุฒิภาวะของกลุ่มตัวอย่าง การทดสอบ การใช้เครื่องมือวัด การถดทอยทางสถิติ การเลือกกลุ่มตัวอย่างการขาดหายไปของกลุ่มตัวอย่าง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเลือกตัวอย่างกับวุฒิภาวะของกลุ่มตัวอย่าง

ข้อต่อไป

#15. ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของ piaget เรื่องพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาเป็นผลมาจากสิ่งใด

เฉลยข้อ 1 พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
เหตุผล ทฤษฏีพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของ piaget พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาเป็นผลมาจากวุฒิภาวะพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมประสบการณ์ที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวตั้งแต่เกิดอย่างต่อเนื่อง

ข้อต่อไป

#16. Bruner เชื่อว่าพัฒนาการทางด้านสถิติปัญญาของมนุษย์ สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ขั้น

เฉลยข้อ 2 แบ่งออกเป็น 3 ขั้น
เหตุผล ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Bruner ชื่อว่าพัฒนาการทางด้านสถิติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ ขั้นการเรียนรู้จากความคิด และขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม

ข้อต่อไป

#17. สติปัญญาขั้นสูงตามทฤษฏีวัฒนธรรมเชิงสังคม Vygotsky เกิดมาจากสิ่งใด

เฉลยข้อ 2 การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่
เหตุผล ระดับสติปัญญาขั้นสูง ของ Vyotsky เป็นระดับสติปัญญาที่เกิดจากการมรปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่จากการอบรมเลี้ยงดูทฤษฏีวัฒนธรรมเชิงสังคม มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ภาษาปฏิสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรม การเลียนแบบ การชี้แนะหรือการช่วยเหลือ

ข้อต่อไป

#18. ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ Ausabel แบ่งการเรียนรู้ออกเป็นกี่ประเภท

เฉลยข้อ 4 แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
เหตุผล ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ Ausubel เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความหมาย แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ประเภท คือ การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิด การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมายและการเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิด

ข้อต่อไป

#19. ความสามารถทางด้านเชาว์ปัญญาตามทฤษฏีเชาว์ปัญญาสามศรของ Sternberg สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ด้าน

เฉลยข้อ 2 แบ่งเป็น 3 ด้าน
เหตุผล ทฤษฏีเชาว์ปัญญาสามศรของ Sternberg คือ ทฤษฏีชื่อว่าทฤษฏีสามศรอธิบายว่าเชาว์ปัญญาประกอบด้วยความสามารถ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการคิด ด้านประสบการณ์ และ ด้านบริบทสังคม

ข้อต่อไป

#20. มติที่ 1 ด้านความคิดตามทฤษฏีโครงสร้างเชาว์ปัญญาของ Guilford สามารถแบ่งออกได้กี่ประการ

เฉลยข้อ 4 แบ่งออกเป็น 6 ประการ
เหตุผล มิติที่ 1 ด้านความคิดตามทฤษฏีโครงสร้างเชาว์ปัญญาของ Guilford สามารถแบ่งออกได้ 6 ประการ คือ ความรู้ความเข้าใจ การบันทึกความจำ ความคงทนในการจำ การคิดอเนกอนัย การคิดเอกนัย และการประมาณค่า

จบคำถาม

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *