ข้อสอบนักเรียนนายสิบตำรวจ วิชากฎหมายที่ประชาชนควรรู้ ชุดที่ 8

#1. ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) คือคําตอบตามข้อใด
เฉลย ก. ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ นิยมใช้กันในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และเครือจักรภพอังกฤษ (ประเทศไทย เยอรมัน และฝรั่งเศส ใช้ระบบกฎหมายชีวิล ลอว์)
#2. การแจ้งย้ายที่อยู่ออกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ต้องกระทําให้แล้วเสร็จภายใน
#3. ชื่อใดต่อไปนี้ไม่ต้องจดทะเบียน
เฉลย ง. ส่วนการตั้งชื่อสกุล และการขอตั้งชื่อสกุลใหม่ จะต้องแจ้งและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่ตนมีภูมิลําเนาอยู่
#4. ผู้ที่ทําบัตรประจําตัวประชาชนหาย จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีภูมิลําเนาอยู่ภายใน
#5. ใครเป็นผู้ริเริ่มนําวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปจากอังกฤษมาสู่ประเทศไทย
เฉลย ค. วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปนี้ ได้แพร่หลายจากอังกฤษเข้าสู่ประเทศไทย ในสมัยเสด็จในกรมกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
#6. ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ใช้ในประเทศใด
เฉลย ง. กฎหมาย Common Law หรือ Case Law นิยมใช้ในประเทศอังกฤษและเครือจักรภพอังกฤษรวมทั้งสหรัฐอเมริกาด้วย
#7. Civil Law เป็นรูปแบบหนึ่งของกฎหมาย
เฉลย ก. กฎหมายลายลักษณ์อักษร นิยมใช้กันในประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน เป็นต้น
คือ เป็นรูปของประมวลกฎหมาย โดยเฉพาะในทางกฎหมายแพ่งนั้นใช้ระบบกฎหมาย “Civil Law
#8. ผู้ที่กล่าวว่า “กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐซึ่งกําหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับ ผลร้ายหรือถูกลงโทษ” คือ
#9. ข้อใดต่อไปนี้เป็นลักษณะที่สําคัญที่สุดของกฎหมาย
เฉลย ง. ลักษณะที่สําคัญที่สุดแห่งกฎหมาย คือ กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม
#10. กฎหมายกับจารีตประเพณีต่างกันตรงที่
เฉลย ง. การกระทําความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้กระทําจะมีความผิดและถูกลงโทษ แต่การกระทําผิดหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีจะได้รับเพียงการดิเตียนจากสังคมเท่านั้น
#11. นิติกรรมที่เกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาออกมาไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงซึ่งซ่อนอยู่ในใจโดยคู่กรณีฝ่ายหนึ่งรู้ถึงเจตนาที่ซ่อนอยู่ในใจ มีผลในกฎหมายประการใด
เฉลย ค. แต่ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ถึงเจตนาที่ซ่อนอยู่ในใจแล้ว (เจตนาซ่อนเร้น) นิติกรรมหรือการแสดงเจตนานั้นจะสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆะ
#12. การหมั่นจะกระทําได้ต่อเมื่อ
เฉลย ง. การหมั่นจะทําได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวนี้จะตกเป็นโมฆะ
#13. ข้อใดไม่ใช่สภาพบังคับทางกฎหมายอาญา
เฉลย ก. สภาพบังคับของกฎหมายนั้น ถ้าเป็นกฎหมายอาญา สภาพบังคับก็คือโทษนั่นเอง ซึ่งเรียงจากหนักที่สุดไปเบาที่สุด ได้แก่
1. ประหารชีวิต 2. จําคุก 3. กักขัง 4. ปรับ 5. รับทรัพย์สิน
ส่วนสภาพบังคับในทางกฎหมายแพ่ง ได้แก่ การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือความเป็นโมฆะกรรมหรือโมยกรรม ซึ่งเป็นสภาพบังคับที่เป็นผลร้าย ส่วนสภาพบังคับที่เป็นผลดี เช่น การได้รับลดหย่อนภาษีเป็นต้น
#14. นายดําอายุ 21 ปี น.ส. แดงอายุ 21 ปี ตกลงจะหมั้นกัน โดยนายดําตกลงว่าจะมอบเงินให้จํานวน 5 ล้านบาท อีกทั้งจะมอบรถยนต์ 1 คันและสร้อยคอทองคําอีก 3 เส้น ปรากฏว่าก่อนหน้าวันหมั้น 1 วัน นายดําได้นํา เงินจํานวน 5 ล้านบาทมามอบไว้ให้ น.ส. แดงก่อน ครั้นถึงวันหมั้นนายดํานํารถยนต์มามอบให้ น.ส.แดง ส่วนสร้อยคอ ทองคํา 3 เส้น นายดํามอบให้ในวันถัดจากวันหมั้น เช่นนี้ของหมั้นคือ
เฉลย ก. “ของหมั่น” คือ ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานและประกันว่าจะสมรสกับหญิงนั้น (แต่จะต้องได้ส่งมอบให้ก่อนหรือในขณะที่ทําสัญญาหมั้น ถ้าให้ในภายหลังจะไม่ถือว่าเป็นของหมั้น)
#15. ข้อใดเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีที่มาของกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
เฉลย ค. พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) โดยผู้ที่มีอํานาจตรา คือ พระมหากษัตริย์ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งเนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะทําหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และมีผลใช้บังคับเมื่อประกาศให้ประชาชนทราบแล้วในราชกิจจานุเบกษา