บจก. เอ็นจิเนียร์ ติวเตอร์
083-812-1905
Line ID: golfae1

ข้อสอบนักเรียนนายสิบตำรวจ สายอำนวยการ วิชาสังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ชุดที่ 5

ข้อสอบนักเรียนนายสิบตำรวจ สายอำนวยการ วิชาสังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ชุดที่ 5

 

Results

#1. กฎหมายอาเซียน คือข้อใด

กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทาให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติ บุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะ ประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อ ปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกาหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สาคัญในอาเซียนตลอดจนความสัมพันธ์ ในการดาเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดาเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นา อาเซียนได้ตกลงกันไว้
ทั้งนี้ผู้นาอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกาลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้า ของอาเซียนที่กาลังจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสาคัญที่จะปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มีสถานะ เป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป

Previous
ข้อต่อไป

#2. ศาสนาอเทวนิยม หมายถึงศาสนาใด

ศาสนาเชน ศาสนาในโลกถึงแม้จะมีมากแต่ถ้าจัดเป็นประเภทได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ศาสนาประเภทเทวนิยม (Theism) คือศาสนาที่เชื่อว่ามีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เหนือกว่าเทพ เจ้าทั้งหลาย หรือที่เรียกกันว่า พระเจ้า พระองค์เป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งและเชื่อกันว่าพระเจ้า อาจจะติดต่อกับมนุษย์ โดยผ่านทางศาสดาพยากรณ์ของพระองค์ เช่น พระอัลลอฮ์ทรงติดต่อกับ ท่านนบีมูฮัมหมัด พระยะโฮวาทรงติดต่อกับท่านโมเสส เป็นต้น ศาสนาประเภทนี้อาจแบ่งแยก ออกไปได้อีก ตามจานวนพระเจ้าที่นับถือ คือ
1.1 เอกเทวนิยม (Monotheism) เชื่อว่าพระเจ้าสูงสุดมีองค์เดียว เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม เป็นต้น
1.2 ทวินิยม (Dusttheism) เชื่อว่าพระเจ้าสูงสุดมีสองพระองค์ เช่น ศาสนาโซโรอัสเตอร์
1.3 พหุเทวนิยม (Polytheism) เชื่อว่าพระเจ้าสูงสุดมีหลายพระองค์ เช่น ศาสนา พราหมณ์ – ฮินดู

2. ศาสนาประเภทอเทวนิยม (Atheism) ศาสนาประเภทนี้ไม่เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและ สรรพสิ่ง ไม่เชื่อว่ามีเทพเจ้าหรือพระเจ้าคอยบันดาลให้บุคคลเจริญหรือเสื่อม แต่เชื่อว่าทุกอย่าง เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยและเชื่อว่าการกระทาเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง ศาสนาประเภทนี้เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาเชน เป็นต้น

Previous
ข้อต่อไป

#3. ข้อใด คือ ความหมายของ “สงครามเย็น”

สงครามเวียดนาม

สงครามเย็น เป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและ ระบอบการเมืองต่างกันระหว่างกลุ่มประเทศโลกเสรี นาโดยสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศ คอมมิวนิสต์ นาโดยสหภาพโซเวียต ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงประมาณ ค.ศ.1945-1991 (พ.ศ. 2488-2534) โดยประเทศมหาอานาจทั้ง 2 ฝ่ายจะไม่ทาสงครามกัน โดยตรง แต่จะพยายามสร้างแสนยานุภาพทางการทหารของตนไว้ข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม และสนับสนุน ให้ประเทศพันธมิตรของตนเข้าทาสงครามแทน หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสงครามตัวแทน (Proxy War)
เหตุที่เรียก สงครามเย็น เนื่องจากเป็นการต่อสู้กันระหว่างมหาอานาจ โดยใช้จิตวิทยา ไม่ได้นาพาไปสู่การต่อสู้ด้วยกาลังทหารโดยตรง แต่ใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อการแทรกซึมบ่อน ทาลาย การประณาม การแข่งขันกันสร้างกาลังอาวุธ และแสวงหาอิทธิพลในประเทศเล็ก เช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม

Previous
ข้อต่อไป

#4. ข้อใด หมายถึง การซื้อขายระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ

B2B มาจากคาว่า Business to business รูปแบบการทาธุรกิจ

1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business: B2B) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ ผู้ประกอบการด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ หรือ ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นาเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น ซึ่งใน ปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีความสาคัญมากที่สุด

2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer: B2C) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการ กับลูกค้าหรือผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic retailing) เราสามารถ แบ่งระดับของกิจกรรมของ คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้คือ การ โฆษณาและแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic showcase) เพียงอย่างเดียว, การสั่งซื้อสินค้า ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic ordering) สามารถสั่งซื้อได้, การชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment) สามารถชาระเงินได้, การจัดส่งและบริการหลังการขายด้วยอินเทอร์เน็ต (Electronic delivery and service) สามารถจัดส่งและบริการหลังการขายได้ และ การทา ธุรกรรมและการแลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic transaction) สามารถทาการ แลกเปลี่ยนได้ ตัวอย่าง Website เช่น บริการผู้ขายปลีกสินค้าผ่านเว็บไซต์โดยทาการขายหนังสือ ไปทั่วโลก (WWW.amazon.com) บริการการจองตั๋วเครื่องบินของบริษัทการบินไทยผ่านเว็บไซต์ (www.thaiair.com) ขายเครื่องประดับ (www.abcjewelry.com) และ ขายอาหาร (www.pizza.co.th) ขายหนังสือ (www.se-ed.com) เป็นต้น

3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government: B2G) หมายถึง ธุรกิจการบริหารการค้า ของประเทศเพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการ เปิดประมูลผ่านทางเครือข่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ (Government procurement), การจดทะเบียนการค้า, การรายงานผลการประกอบการประจาปี, การสืบค้นเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตรผ่านทางเครือข่าย เป็นต้น ตัวอย่าง Website เช่น การประกาศจัดจ้างของภาครัฐใน เว็บไซต์ (www.mahadthai.com) และ ระบบอีดีไอใน พิธีการกรมศุลกากร (www.customs.go.th)

4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer: C2C) หมายถึง ธุรกิจระหว่าง ผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่น ๆ ผ่านทาง อินเตอร์เน็ต ตัวอย่าง Website เช่น เป็นแหล่งที่ผู้ขายมาเสนอขายและผู้ซื้อประมูลซื้อแข่งกันผู้ซื้อ และผู้ขายติดต่อกันผ่านอีเมล์ (www.ebay.com) ประกาศขายสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางด้าน คอมพิวเตอร์ มีการลงทะเบียนเป็นสมาชิก สามารถจัดส่งสินค้าได้ (www.pantipmarket.com) และขายของมือสอง(www.thaisecondhand.com) เป็นต้น

Previous
ข้อต่อไป

#5. ทศพิธราชธรรม ในข้อใดเกี่ยวกับการพูด

มัทวะ

จริยาวัตรจัดเป็นพระคุณสมบัติที่สาคัญยิ่งด้วย เรียกว่า ทศราชธรรม หรือคุณธรรม 10 ประการ
ธรรมะข้อ 1.ทาน หมายถึง พระราชทานพัสดุสิ่งของ หรือปัจจัยที่จาเป็นในการดารงค์ชีวิต แก่ผู้สมควรได้รับ ได้แก่ พระภิกษุสงฆ์ และราษฎรผู้ยากไร้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการ พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ แก่พระราชวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ตามสมควร แก่ฐานะ

ธรรมะข้อ 2.ศีล หมายถึง การทรงศีล หรือการที่ทรงตั้งสังวรรักษาพระอาการ กาย วาจา ให้สะอาดปราศจากโทษอันควรครหา พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่าง ยิ่ง ได้เสด็จออกทรงผนวช เพื่อทรงศึกษาและปฏิบัติพระธรรมวินัย อุทิศพระราชกุศลพระราชทาน แก่ปวงชนชาวไทย

ธรรมะข้อ 3.บริจาค หมายถึง การพระองค์พระราชบริจาคไทยธรรม หรือสิ่งของที่ พระราชทานให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่พระราชวงศานุวงศ์ และทูลข้าละอองธุลีพระบาท ตามฐานะที่ ราชการฉลองพระเดชพระคุณ รวมทั้งพระราชทานแก่ประชาชนผู้ยากไร้ได้อาศัยเลี้ยงชีวิต

ธรรมะข้อ 4.อาชวะ หมายถึง ความซื่อตรง ทรงมีพระราชอัชฌาสัย อันประกอบด้วยความ ซื่อตรง ดารงในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อพระราชสัมพันธมิตรและพระราชวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระ บาททั้งปวง ไม่ทรงคิดลวง ประทุษร้ายโดยอุบายผิดยุติธรรม

ธรรมะข้อ 5.มัททวะ หมายถึง ความอ่อนโยน ทรงมีพระราชอัชฌาสัยอ่อนโยน ไม่ดื้อดึงถือ พระองค์แม้มีผู้ตักเตือนในบางอย่าง ด้วยความมีเหตุผลก็จะทรงพิจารณาโดยถี่ถ้วน ถ้าถูกต้องดี ชอบก็ทรงอนุโมทนา และปฏิบัติตาม ทรงสัมมาคารวะอ่อนน้อมแก่ท่านผู้เจริญโดยวัยและโดยคุณ ไม่ทรงดูหมิน

ธรรมะข้อ 6.ตบะ หมายถึง ความเพียร ทรงสมาทานกุศลวัตร ด้วยการเอาพระราชหฤทัย ใส่ ในการปกครองพระราชอาณาเขต และประชาชนให้มีความสุขปราศจากภยันตราย ตลอดถึง การที่ทรงมีพระอุตสาหะอันแรงกล้าในกุศลสมาทาน ระวังบาปที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพื่อจะ กาจัดบาปกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เสื่อมสูญ

ธรรมะข้อ 7.อักโกธะ หมายถึง ความไม่โกรธ ทรงมีพระกริยาที่ไม่โกรธโดยวิสัย มิใช่เหตุที่ ควรโกรธ แม้มีเหตุที่ให้ทรงพระพิโรธ แต่ทรงข่มเสียให้อันตรธานสงบระงับไป ด้วยทรงมีพระ เมตตาอยู่เสมอ ไม่ทรงปรารถนาจะก่อภัย ก่อเวรแก่ผู้ใด

ธรรมะข้อ 8.อวิหิงสา หมายถึง ความไม่เบียดเบียน ด้วยทรงมีพระราชอัชฌาสัย กอปรด้วย พระราชกรุณา ไม่ทรงปรารถนาจะก่อทุกข์แก่ผู้ใดแม้กระทั้งสัตว์ ไม่ทรงเบียดเบียนพระราชวงศ์ ข้า ทูลละอองธุลีพระบาท และอาณาประชาราษฎร์ ให้ลาบากด้วยเหตุอันไม่ควรกระทา

ธรรมะข้อ 9.ขันติ หมายถึง ความอดทน ทรงมีพระราชหฤทัยดารงมั่นในขันติ มีความ อดทนต่อสิ่งที่ควรอดทน เช่น อดทนต่อทุกข์ อดทนต่อเวทนาอันเกิดขึ้นในพระกาย และทรงมีพระ ขันติเมตตากรุณาธิคุณ งดโทษผู้มีความประมาท กระทาผิดล่วงพระอาญา และควรจะลงราชทัณฑ์ แต่ก็ทรงระงับด้วยความอดทนไว้ได้

ธรรมะข้อ 10.อวิโรธนะ หมายถึง ความเที่ยงธรรม ทรงรักษาความยุติธรรมไม่ให้แปรผัน จากสิ่งที่ตรง และดารงพระอาการไม่ยินดี ยินร้าย ต่ออานาจคติทั้งปวง หรืออีกนัยหนึ่ง คือความไม่ ประพฤติผิดในขัตติยราชประเพณี ทรงดารงอยู่ในพระราชจริยาวัตรของพระมหากษัตริย์อย่าง แท้จริง

Previous
ข้อต่อไป

#6. หลักธรรมาภิบาล ใช้ที่ไหนเป็นที่แรกในโลก

ธนาคารโลก

ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทาง สาคัญใน การจัดระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งครอบคลุมถึง ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคี และร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริม ความเข้มแข็งหรือสร้าง ภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทาป้องกันหรือแก้ไขเยียวยาภาวะ วิกฤติ ภยันตรายที่หากจะมีมาใน อนาคต เพราะสังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็น คุณลักษณะสาคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการปกครอง แบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สอดคล้องกับความเป็นไทย รัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบัน

แนวความคิดเรื่องหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ถูกนาเสนอเป็นครั้งแรกโดย องค์กรระหว่างประเทศ คือ ธนาคารโลก และองค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติซึ่งมีความหมาย สากล คือ ระบบ โครงสร้างและกระบวนการต่าง ๆ ที่วางกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของ ประเทศโดยเฉพาะภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อพัฒนาการ อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

Previous
ข้อต่อไป

#7. หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ หลักธรรมข้อใด

อริยสัจ 4
อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มี 4 ประการ เราจึงเรียกรวมกันว่า “อริยสัจ 4” ได้แก่

1.ทุกข์ ได้แก่ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ

2.สมุทัย ได้แก่ สาเหตุของทุกข์คือตัณหาหรือความอยาก

3.นิโรธ ได้แก่ ภาวะที่ปราศจากทุกข์หรือนิพพาน

4.มรรค วิธีดับทุกข์หรือวิธีแก้ปัญหา ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มรรคมีองค์ 8 คือ

(4.1) สัมมาทิฐิ เห็นชอบ

(4.2) สัมมาสังกัปปะ คิดชอบ

(4.3) สัมมาวาจา พูดชอบ

(4.4) สัมมากัมมันตะ กระทาชอบ

(4.5) สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ

(4.6) สัมมาวายามะ เพียรชอบ

(4.7) สัมมาสติ ระลึกชอบ

(4.8) สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ

Previous
ข้อต่อไป

#8. “เกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าจะประสบความสาเร็จ” ตรงกับหลักธรรมข้อใดมากที่สุด

อิทธิบาท 4
อิทธิบาท 4 คือ หนทางสู่ความสาเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสาเร็จ คุณเครื่องสาเร็จสม ประสงค์ ทางแห่งความสาเร็จ คุณธรรมที่นาไปสู่ความสาเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มี 4 ประการ คือ

1.ฉันทะ คือ ความพอใจ

2.วิริยะ คือ ความเพียร

3.จิตตะ คือ ความคิด

4. วิมังสา คือ ความไตร่ตรอง

Previous
ข้อต่อไป

#9. ประเทศใดเป็นประเทศปิด ที่คือประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล

ลาว
ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มักจะถูกนิยามว่าเป็นประเทศที่ถูกปิดล้อมหรือเกือบถูกปิด ล้อมด้วยแผ่นดิน การเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลนับเป็นข้อด้อยทางภูมิศาสตร์ เพราะ นอกจากจะถูกปิดกั้นจากทรัพยากรทางทะเลแล้ว ยังทาให้ไม่สามารถค้าขายทางทะเลได้อีกด้วย

Previous
ข้อต่อไป

#10. สถาบันใด เป็นสถาบันที่มีความสำคัญมากที่สุด

ครอบครัว
สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานแรกที่สุดและมีความสาคัญยิ่งของสังคม เพราะ สถาบันขั้นมูลฐานที่เป็นจุดเริ่มต้นของสถาบันทั้งหลาย

Previous
จบคำถาม

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *