บจก. เอ็นจิเนียร์ ติวเตอร์
083-812-1905
Line ID: golfae1

ข้อสอบครูผู้ช่วย สพฐ ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ชุดที่ 21

ข้อสอบครูผู้ช่วย สพฐ ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ชุดที่ 21

 

Results

#1. พัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance ช่วงอายุระหว่าง 16 – 18 ปี ผู้เรียนจะมีความคิดสร้างสรรค์ในลักษณะใด

เฉลยข้อ 2 จินตนาการในแง่ดีมีความทะเยอทะยาน
เหตุผล แนวคิดพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance เป็นการพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ตามช่วงอายุของคนอายุ 16 – 18 ปี ในช่วงนี้ต้องการจิตนาการของตนเองเต็มที่มักจินตนาการในแง่ดีมีความทะเยอทะยาน

Previous
ข้อต่อไป

#2. ความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์ ตามทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow คือสิ่งใด

เฉลยข้อ 4 ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในชีวิต
เหตุผล ทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow ความต้องการที่จะไดรับความสำเร็จในชีวิตเป็นความต้องการระดับสูงสุดของมนุษย์ส่วนมากจะเป็นการอยากจะเป็น อยากจะได้ตามความคิดของตนเองแต่สามารถเสาะแสวงหาได้

Previous
ข้อต่อไป

#3. ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Marzano มีการจัดกระทำข้อมูลกี่ระดับ

เฉลยข้อ 4 มี 6 ระดับ
เหตุผล ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Marzano มีการจัดกระทำข้อมูลกี่ระดับกระบวนการจัดกระทำข้อมูล 6 ระดับ ประกอบด้วย ขั้นรวบรวมข้อมูลขั้นเข้าใจ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ขั้นบูรณาการความรู้และขั้นจัดระบบแห่งตน

Previous
ข้อต่อไป

#4. ทฤษฏีหมวก 6 ใบของ Edward de Bono จะไม่ใช้หมวกสีใดเป็นสัญลักษณ์

เฉลยข้อ 3 หมวกสีน้ำตาล
เหตุผล ทฤษฏีหมวกหกใบของ Edward de Bono ประกอบด้วย หมวกสีขาว แทน การคิดถึงข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นล้วน ๆ เท่านั้น หมวกสีแดง แทนตรงกันข้ามกับสีขาว คือ ไม่สนใจข้อมูล แต่จะเน้นด้านอารมณ์และความรู้สึกเท่านั้น หมวกสีดำ แทนการเน้นคิดถึงจุดอ่อน ข้อเสีย ข้อบกพร่องด้านลบในเรื่องนั้น ๆ
ผู้คิดตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อมองเห็นปัญหาได้ หมวกสีเหลือง แทนการมองด้านดี ประโยชน์และพยายามหาสิ่งดี ๆ หมวกสีเขียว แทนความคิดที่สร้างสรรค์นำเสนอทางเลือกใหม่และวิธีแก้ปัญหาใหม่และหมวกสีฟ้า ดังนั้นหมวกสีน้ำตาล จึงไม่ได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ตามทฤษฏีหมวก 6 ใบ ของ Edward de Bono

Previous
ข้อต่อไป

#5. ความสามารถในการตัดสินสิ่งต่าง ๆ ในด้านพุทธิพิสัย ตามทฤษฏีของเบนจามิน บลูม คือระดับใด

เฉลยข้อ 4 การประเมินค่า
เหตุผล ความสามารถในการตัดสินสิ่งต่าง ๆ ราคาหรือสรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในด้านพุทธิพิสัย ตามทฤษฏีของเบนจามิน บลูม คือ ระดับประเมินค่า

Previous
ข้อต่อไป

#6. ความสามารถทางด้านจิตพิสัยตามทฤษฏีของเบนจามิน บลูม สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ระดับ

เฉลยข้อ 3 แบ่งออกเป็น 5 ระดับ
เหตุผล ความสามารถทางด้านจิตพิสัยตามทฤษฏีของเบนจามิน บลูม สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ คือ ระดับการรับรู้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ระดับการตอบสนอง ระดับการเกิดค่านิยม ระดับการจัดระบบและระดับบุคลิกภาพ

Previous
ข้อต่อไป

#7. ความสามารถทางด้านทักษะพิสัยตามทฤษฏีของ เบนจามิน บลูม สามารถแบ่งออกได้

เฉลยข้อ 3 แบ่งออกเป็น 5 ระดับ
เหตุผล ความสามารถทางด้านทักษะพิสัยตามทฤษฏีของ เบนจามิน บลูม สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้น คือ ขั้นการรับรู้เป็นพฤติกรรมที่นักเรียนได้รับ ขั้นกระทำตามแบบ ขั้นการหาความถูกต้อง ขั้นการกระทำและขั้นการกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ

Previous
ข้อต่อไป

#8. ชื่อใด ไม่จัดเป็น กฎการเรียนรู้ตามทฤษฏีของธอร์นไดด์

เฉลยข้อ 2 กฎแห่งกรรม
เหตุผล ทฤษฏีของธอร์นไดค์ หรือทฤษฏีเชื่อมโยงความสัมพันธ์ว่าเป็นทฤษฏีที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง มีกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ 3 กฎ ได้แก่ กฎแห่งผล กฎแห่งการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำ และกฎแห่งความพร้อม ดังนั้นกฎแห่งกรรมจึงไม่จัดเป็นกฎการเรียนรู้ตามทฤษฏีของธอร์นไดด์

Previous
ข้อต่อไป

#9. ทฤษฏีของสกินเนอร์ เชื่อว่าการตอบสนองพฤติกรรมของมนุษย์ จะเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งใด

เฉลยข้อ 3 การเสริมแรงหรือไม่เสริมแรง
เหตุผล ทฤษฏีของสกินเนอร์ มีความเชื่อว่าผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองลำดับขั้นการเรียนรู้จะถูกแตกย่อยเป็นขั้นจะต้องมีการตอบสนองที่ถูกต้อง ผู้เรียนจะได้รู้ผลแห่งการกระทำทันทีการรู้ว่าการกระทำของตนเองถูกต้องเป็นเครื่องเสริมแรงให้กับผู้เรียน

Previous
ข้อต่อไป

#10. การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CATS ครูผู้สอนจะมีการประเมินผลแบบใด

เฉลยข้อ 2 การประเมินผลระหว่างเรียน
เหตุผล การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CATS เป็นเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่มีประเมินผลระหว่างเรียนในขณะที่มีการสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

Previous
ข้อต่อไป

#11. การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการร่วมมือกันเรียนรู้ Cooperative Learning มีประโยชน์ที่สำคัญคือข้อใด

เฉลยข้อ 1 นักเรียนมีความกระตือรือร้น
เหตุผล การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการร่วมมือกันเรียนรู้ Cooperative Learning เป็นเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่มีการจัดนักเรียนให้ได้ร่วมกันเรียนรู้เป็นวิธีที่ดีที่สุด นักเรียนจะมีความกระตือรือร้นแสดงความคิดเห็นโดยการสนับสนุนให้ข้อมูลย้อนกลับระหว่างนักเรียนด้วยกันและระหว่างครูกับนักเรียน

Previous
ข้อต่อไป

#12. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มแข่งขัน มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือข้อใด

เฉลยข้อ 4 ผการพัฒนาทักษะทางสังคมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เหตุผล รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มแข่งขัน เป็นรูปแบบการสอนที่สามารถดัดแปลงใช้ได้เกือบทุกวิชาและทุกระดับชั้นเพื่อเป็นการพัฒนาสัมพันธ์สัมฤทธิ์ผลของการเรียนและทักษะสังคมเป็นสำคัญ

Previous
ข้อต่อไป

#13. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบ TGT มีความเหมาะสมกับวิชาใด และระดับใด

เฉลยข้อ 4 เหมาะสมกับทุกวิชาและทุกระดับชั้น
เหตุผล รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TGT เป็นการเรียนแบบร่วมมืออีกรูปแบบหนึ่งที่มีความเหมาะสมกับลักษณะวิชาทั่วไปและทุกระดับการศึกษา

Previous
ข้อต่อไป

#14. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TAI มีความเหมาะสมกับวิชาใด และระดับใด

เฉลยข้อ 1 วิชาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา
เหตุผล รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TAI เป็นการนำรูปแบบการเรียนของ STAD และTGT มาปรับเข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาให้เหมาะสมสำหรับคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา

Previous
ข้อต่อไป

#15. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC มีความเหมาะสมกับการเรียน เพื่อพัฒนาทักษะในด้านใด

เฉลยข้อ 2 ทักษะด้านการอ่านและเขียน
เหตุผล รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC เป็นการเรียนแบบร่วมมือที่เหมาะสมสำหรับวิชาอ่านและเขียนและทักษะอื่น ๆ ทางภาษาที่จะสามารถอธิบายถึงเหตุผลการพัฒนาการและช่วยให้การอ่านและเขียนเรียงความมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

Previous
ข้อต่อไป

#16. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ GI เป็นการจัดการเรียนรู้แบบใด

เฉลยข้อ 2 สอนโดยการสืบสวน สอบสวน
เหตุผล รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ GI เป็นการสอนโดยการสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่มโดยทั่วไปนักเรียนจะทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยใช้การสืบค้นแบบร่วมมือกันมือการอภิปรายเป็นกลุ่มรวมทั้งวางแผนงานและโครงการต่าง ๆ

Previous
ข้อต่อไป

#17. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ JIGSAW ประกอบด้วยกี่ขั้น

เฉลยข้อ 4 จำนวน 6 ขั้น
เหตุผล รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ JIGSAW ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ครูแบ่งหัวข้อที่จะเรียน
ขั้นที่ 2 การจัดกลุ่มนักเรียนให้มีสมาชิกที่มีความสามารถคละกัน
ขั้นที่ 3 นักเรียนที่อ่านหัวข้อย่อยเดียวกันมานั่งด้วยกัน
ขั้นที่ 4 นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มผู้เชียวชาญกลับกลุ่มเดิมของตน แล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มฟัง
ขั้นที่ 5 นักเรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับเนื้อหาทั้งหมดทุกหัวข้อ
ขั้นที่ 6 กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับรางวัล

Previous
ข้อต่อไป

#18. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความสามารถในลักษณะใด

เฉลยข้อ 2 มีความสามารถใกล้เคียงกัน
เหตุผล รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เป็นการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ซึ่งกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 – 5 คนประกอบด้วย นักเรียนที่เรียนเก่ง 1 คน นักเรียนที่เรียนปานกลาง 2 – 3 คน และนักเรียนที่เรียนอ่อน 1 คน มีลักษณะที่สำคัญคือจะมีการให้รางวัลเป็นทีม

Previous
ข้อต่อไป

#19. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ LT มีจุดมุ่งหมายเพื่อสิ่งใด

เฉลยข้อ 2 เพื่อสร้างความรู้สึกพึ่งพากัน
เหตุผล รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ LI เป็นการกำหนดสถานการณ์และเงื่อนไขให้นักเรียนทำผลงานเป็นกลุ่ม ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันเอกสาร การแบ่งงานที่เหมาะสม และการให้รางวัลกลุ่มมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความรู้สึกพึ่งพากันภายในกลุ่ม

Previous
ข้อต่อไป

#20. การจัดการเรียนรู้ตามแนว Constructivism ประกอบด้วยกี่ขั้นตอน

เฉลยข้อ 3 ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน
เหตุผล การจัดการเรียนรู้ตามแนว Constructivism มี 7 ขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นกระตุ้นผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจบทเรียน
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นสำรวจปัญหาเผชิญสถานการณ์และวางแผน
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นอธิบายมโนทัศน์และให้คำจำกัดความ
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นขยายความคิด เพื่อประยุกต์ให้ใช้เป็นประโยชน์
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นเชื่อมโยงความรู้และจัดทำชิ้นงาน
ขั้นตอนที่ 6 ขั้นสรุปความรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
ขั้นตอนที่ 7 ขั้นประเมินผล

Previous
จบคำถาม

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *